วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

Flood Way กับแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน


Flood way กับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
ส่วนนำ
             “... การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็คือ การควบคุมน้ำให้ได้ ดังประสงค์ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีนำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค ปัญหามีอยู่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำ อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติเกิดขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งส่งผลเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง…”
                                                                       (พระราชดำรัสเรื่องการจัดการน้ำ http:/kingandwater2.htm )
                จากแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของพระองค์ที่มีต่อประชาชนชาวไทย ในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำที่เป็นปัญหาหลักของคนไทยมาช้านาน ซึ่งพระองค์ได้ทรงคิดค้นหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง หรือปัญหาน้ำท่วม พระองค์ได้ใช้เวลาหลายสิบปีในการคิดค้นและดำเนินโครงการต่างๆจนเป็นที่สัมฤทธิ์ผล สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ประเทศไทยอย่างมากไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ โครงการฝนเทียม โครงการแก้มลิง โครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำ ตลอดจนแนวพระราชดำริเรื่องการสร้างและพัฒนาทางเดินของน้ำ หรือ Flood Way สำหรับป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
                ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในเรื่องของ Flood Way  หรือ ทางเดินน้ำ หลังจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ใน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ว่าเป็นแนวทางการป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพและสามารถช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนั้นเกิดจากระบบการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำไม่สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้น้ำเหนือเข้าท่วมในพื้นที่ภาคกลางรวมทั้งพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว  ความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุน ด้านสังคม นอกจากนี้ ยังได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินประชาชนชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่า “แทบสิ้นเนื้อประดาตัว”
                ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการให้ความสำคัญกับการแก้ไขระบบการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพและการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมเป็นส่วนสำคัญมากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่เหมือนหลายๆครั้งในอดีตที่ผ่านมา
                ในการศึกษาเรื่อง Flood way กับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีจุดประสงค์สำคัญ ดังนี้
๑.เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดปัญหาน้ำท่วม
              .เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยใช้วิธีการสร้างแนว Flood way
.เพื่อศึกษาวิธีการต่างๆที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้
ส่วนเนื้อเรื่อง
ความสำคัญของปัญหาน้ำท่วม
อุทกภัยในปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานั้นถือเป็นมหาอุทกภัยที่เลวร้ายที่สุดในรอบ ๕๐ ปี ที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก เป็นวิกฤตการณ์ที่ทำให้ประชาชนนับ ๑๐ ล้านคน กลายเป็นผู้ประสพภัย ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๘๑๖ คน  ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ ๑๓ ล้านไร่ ทำให้เกิดความเสียหายในด้านทรัพย์สินราว ๒๐๐, ๐๐๐ ล้านบาท
                ขณะเดียวกันมหาอุทกภัยในครั้งนี้ ทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นเมืองหลวงที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมสูงเป็นอันดับ ๗ ของโลก ทั้งนี้โดยการประเมินขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(Organization for Economic Co-Operation and Development: OECD) เมื่อปีที่แล้ว
                ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมในปีที่ผ่านมานั้น นักวิชาการหลายสำนักชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกผิดฤดูกาลมากกว่าปกติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนในภาคเหนือตอนบนและกลุ่มจังหวัดทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ ๓๙% ในภาคเหนือ และ ๒๒% ในพื้นที่ภาคกลาง โดยได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อน๕ ลูก คือ พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไหถาง เนสาด นาลแก ทำให้ปริมาณน้ำไหลต่อเนื่องมารวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์ และไหลบ่ามาท่วมพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพฯและปริมณฑลในที่สุด
                นอกจากนี้ยังมีสาเหตุต่างๆอีกหลายประการที่ทำเกิดน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด การรุกล้ำเข้าไปสร้างชุมชนในเขตทางน้ำไหลผ่าน รวมทั้งขาดการบำรุงรักษาคูคลอง คลองส่งน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และเครื่องสูบน้ำให้พร้อมกับการใช้งานจากเหตุการณ์เหล่านี้ สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงข้อผิดพลาดในปีที่ผ่านมาได้ โดยวิธีการต่างๆดังนี้
                .ระบบการจัดการน้ำของเขื่อนต่างๆที่จะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีข้อมูลด้านปริมาณน้ำที่เป็นปัจจุบัน การจัดการบริหารปริมาณน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกักเก็บน้ำ หรือการระบายน้ำต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์
                ๒.ต้องมีการขุดลอกคลองระบายน้ำ กำจัดวัชพืชที่ขวางทางน้ำ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ
                ๓.ต้องมีพื้นที่สำหรับทำแก้มลิงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้
                ๔.การสร้างคันกั้นน้ำ ตามแม่น้ำสายหลักๆหรือบริเวณที่มีน้ำท่วมซ้ำๆในทุกปี
                ๕.การสร้างแนวฟลัดเวย์ (Flood Way) หรือ ทางน้ำไหลผ่าน ซึ่งจะช่วยในการระบายน้ำได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยวิธีการต่างๆ
1. เขื่อนกักเก็บน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนต่างๆ ด้วยการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ หลายพื้นที่ด้วยกัน เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี และเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก ซึ่งทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้นี้จะระบายน้ำออกจากแหล่งกักเก็บน้ำทีละน้อยๆ เพื่อนำ มาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการเพาะปลูกในช่วงเวลาฝนไม่ตก หรือช่วงฤดูแล้ง ครั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปีต่อไป เขื่อนก็จะมีปริมาณพื้นที่รองรับน้ำจำนวนมาก เข้ามาเก็บไว้ ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างรวมถึง กรุงเทพมหานคร
2 .ทางผันน้ำ
การก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมมีหลักการอยู่ว่า จะผันน้ำในส่วนที่ไหลล้นออกไปจากลำน้ำ โดยตรง ปล่อยน้ำส่วนใหญ่ที่มีระดับไม่ล้นตลิ่งให้ไหลอยู่ในลำน้ำเดิมตามปกติ วิธีการนี้จะต้องสร้างอาคารเพื่อควบคุมและบังคับน้ำบริเวณ ปากทางให้เชื่อมกับลำน้ำสายใหญ่ และกรณีต้องการผันน้ำทั้งหมดไหลไปตามทางน้ำที่ขุดใหม่ ควรขุดลำน้ำสายใหม่แยกออกจากลำน้ำสาย เดิมตรงบริเวณที่ลำน้ำเป็นแนวโค้งและระดับน้ำของคลองขุดใหม่จะต้องเสมอกับท้องลำน้ำเดิมเป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นก็ปิดลำน้ำสายเดิม
ตัวอย่างเช่น การผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยทางตะวันตก ผันเข้าแม่น้ำท่าจีน แล้วผันลงสู่บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนระบายออกสู่ ทะเล ส่วนด้านตะวันออกผันน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์เข้าสู่คลอง 13 จากนั้นระบายออกคลอง 14 โดยน้ำส่วนหนึ่งผันไปลงแม่น้ำบางปะกง อีกส่วนหนึ่งลงคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตผ่านลงสู่คลองชายทะเล หรือการผันน้ำออกสู่ทะเลโดยคลองสนามบิน คลองโคกเกลือ คลองบางเกวียนหัก คลองเนิน และคลองทะเลน้อย ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้น้ำท่วมตัวอำเภอหัวหิน จากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ประจวนคีรีขันธ์ เมื่อปี 2546
3. ปรับปรุงสภาพลำน้ำ
โดยการขุดลอกลำน้ำในบริเวณที่ตื้นเขิน ตกแต่งติดตามตลิ่งที่ถูกกัดเซาะ กำจัดวัชพืชหรือทำลายสิ่งกีดขวาง ทางน้ำไหลออกไปจนหมด และกรณีลำน้ำมีแนวโค้งมากเป็นระยะไกล อาจพิจารณาขุดคลองลัดเชื่อมบริเวณ ด้านเหนือค้างกับด้านท้ายโค้ง ซึ่งจะทำให้น้ำไหลผ่านได้เร็วขึ้นตัวอย่างเช่น โครงการขุดคลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งทำให้ร่นระยะทางน้ำได้ถึง 17 กิโลเมตร ทำให้ระบายน้ำลงทะเลได้เร็วขึ้น
4. คันกั้นน้ำ
เป็นวิธีป้องกันน้ำมิให้ไหลลงตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ให้ได้รับความเสียหายด้วยการเสริมขอบตลิ่งของลำน้ำให้มีระดับสูงมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การทำคันดินป้องกันน้ำท่วมบริเวณต่างๆ ในโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตามคลองไม่ให้ไหลบ่า เข้ามาท่วมกรุงเทพฯ ชั้นในและพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
5. การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
ทรงให้ขุดคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและให้สามารถเพาะปลูกได้ และก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมการเก็บกักน้ำในคลองและป้องกันน้ำท่วมจากบริเวณด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนเข้าไปในพื้นที่
ตัวอย่างเช่น โครงการแก้มลิงเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาอธิบายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
6. การหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา (Hydrodynamic Flow Measurement) คือ การศึกษาหาความสันพันธ์ของน้ำทะเลหนุน และปริมาณน้ำเหนือ หลาก ผ่านเขตกรุงเทพมหานคร แล้วนำผลการวิเคราะห์ไปใช้สำหรับการบริหารจัดการปริมาณน้ำเหนือที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
                                                                     (การบริหารจัดการน้ำ: http:// kingandwater2.htm)
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"
จากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะลุ่มต่ำ ทำให้มีการระบายน้ำยามเกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อย อีกทั้งมีหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม "แก้มลิง" ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า "...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง" เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำไปเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ อันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง
สำหรับลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ
1.ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ "แก้มลิง" ต่อไป
2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4.เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)
ทั้งนี้ หลักการ 3 ข้อที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ
1.การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่องลุ่มน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำป่าสัก        
จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่า นำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำ แหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก-ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา และคันกั้นน้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหลออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือ
โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอกจากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม นอกจากนั้นยังสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิงนับเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนสาหัสมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ ทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่"
จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ดำเนินตามธรรมชาติ นั้นสามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในหลายพื้นที่ให้หมดสิ้นไปได้ในอนาคต
                     (การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
ความสำคัญของการสร้างFlood Way
แนวการสร้าง Flood way
             แนว Flood way จะเริ่มตั้งแต่รอยต่อระหว่าง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กับ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ขนานไปตามทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงปากคลองพระยาบันลือ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา จากนั้นได้ขนานไปกับคลองพระยาบันลือ ถึง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ อ.ผักไห่ อ.บางบาล อ.บางซ้าย อ.เสนา อ.บางไทร และ อ.ลาดบัวหลวง รวมทั้งพื้นที่บางส่วนใน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี        
             จากนั้นแนว flood way จะขนานไปกับแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตกทั้งหมด ครอบคลุมพื้นที่ อ.บางเลน อ.นครชัยศรี อ.สามพราน จ.นครปฐม, อ.กระทุ่มแบน และ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาครสิ้นสุดที่ปากคลองดำเนินสะดวกใน ต.บางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จากนั้นขนานไปตามคลองดำเนินสะดวก ถึงประตูน้ำบางนกแขวก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ส่วนอีกด้านหนึ่งจะขนานไปกับแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก ตั้งแต่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ถึงประตูน้ำบางนกแขวก โดยพบว่าครอบคลุมพื้นที่ อ.เมืองนครปฐม อ.กำแพงแสนอ.นครชัยศรี อ.ดอนตูม อ.บางเลน อ.สามพราน จ.นครปฐม อ.บ้านโป่ง             อ.โพธาราม อ.บางแพ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี อ.บ้านแพ้ว และพื้นที่บางส่วนใน อ.กระทุ่มแบน          จ.สมุทรสาคร   ส่วนแนว Flood wayด้านตะวันออก จะอยู่ในรัศมีตั้งแต่แม่น้ำป่าสัก ขนานไปกับคลองระพิพัฒน์ ต่อเนื่องไปยังคลองสิบสามถึงเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จากนั้นเบี่ยงไปยังคลองแสนแสบ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไหลลงสู่อ่าวไทยที่คลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวคลองดังกล่าวด้านทิศตะวันออก ไล่ตั้งแต่ อ.ท่าเรือ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา, อ.เสาไห้ อ.หนองแซง อ.หนองแค จ.สระบุรี, อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี, อ.องครักษ์ จ.นครนายก, อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา บางส่วนของเขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองสิบสาม และ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
                                  (ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2555)
ผลกระทบจากการสร้างแนว Flood Way กับที่มีต่อชุมชนรอบข้าง
                การดำเนินโครงการเพื่อสร้างแนว Flood Way นั้นอาจมีผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบริมน้ำหรือคลองสายต่างๆ เพราะชุมชนเหล่านี้ได้รุกล้ำเข้าไปสร้างชุมชนขวางทางระบายน้ำเก่า ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมสำหรับการระบายน้ำ ทำให้มีพื้นที่ในการไหลของน้ำน้อยลงและระบายน้ำไม่ทันจนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเข้าสู้ชมชุนเมืองต่างๆ
                ในการสร้างแนว Flood Way นั้นจำเป็นต้องย้ายชุมชนต่างๆที่ตั้งขวางทางน้ำ ออกจากบริเวณดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านในชุมชนได้รับผลกระทบ ต้องสูญเสียพื้นที่ที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้หน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ๆจะต้องช่วยบรรเทาทุกข์ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้านให้น้อยที่สุด
ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของแนว Flood Way
                แนว Flood Way มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้เฉพาะบางพื้นที่ และไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมให้กับเมืองที่อยู่บนพื้นที่ลุ่มตอนบนได้ เพราะต้องผ่านพื้นที่ๆมีความต่างระดับไม่เท่ากัน เช่น ภูเขาหรือเนินเขา ซึ่งยากต่อการระบายน้ำ นอกจากนี้ยังมีประเด็นต่างๆอีกหลายประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วมของแนว Flood Way เช่น สภาพความพร้อมของพื้นที่รองรับน้ำและคลองระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานรัฐ ปริมาณน้ำในแต่ละปี เป็นต้น
ความสามารถของแนว Flood Way ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร
                แนว Flood Way สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เพราะปริมาณน้ำที่ไหลจากภาคเหนือและภาคกลางตอนบนจะเข้าสู่ระบบการการจัดการน้ำของแนว Flood Way  ก่อนเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมวลน้ำดังกล่าวจะถูกผลัดดันเข้าสู่แนวคลองระบายน้ำและแม่น้ำสายต่างๆหรือพื้นที่รับน้ำ จากนั้นจึงระบายออกเป็น  ๒ ทางหลัก โดยในส่วนของกรุงเทพฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครนั้นมวลน้ำจะถูกผลัดดันให้เข้าสู่ระบบคลองระบายน้ำในคลองสายต่างๆรวมทั้งแม่น้ำบางปะกงและลงสู่อ่าวไทย ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครนั้น น้ำจะถูกผันเข้าคลองสายต่างๆรวมทั้งแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง เพื่อเข้าสู่ระบบระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำโดยใช้แนว Flood Way จะเป็นการช่วยบริหารจัดการน้ำให้กับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหหลผ่านใจกลางกรุงเทพมหานคร ทำให้น้ำไม่สามารถล้นตลิ่งออกมาท่วมกรุงเทพมหานครได้


Flood Wayแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
                ในการนำแนวคิด Flood Way ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร จะเกิดความยั้งยืนก็ต่อเมื่อ เกิดการบริหารน้ำอย่างเป็นระบบ คือ
.การพยากรณ์หรือการคาดการณ์ปริมาณน้ำในแต่ละปี โดยเฉพาะในฤดูฝนนั้นต้องเป็นไปอย่างแม่นยำและเป็นปัจจุบันที่สุด
.มีการบำรุงรักษาคูคลองและแม่น้ำสายต่างๆในแนว Flood Way อย่างสม่ำเสมอ เช่น ขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน และมีการกกำจัดพืชผักหรือสิ่งปฏิกูลที่ขวางทางน้ำไหลผ่าน
ส่วนสรุป
จากกาศึกษาค้นคว้าทำให้ผู้ศึกษาได้รู้ว่า Flood way คือทางน้ำผ่านหรือทางน้ำไหลผ่าน เป็นแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาน้ำท่วมอีกวิธีการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระราชทานแก่ชาวไทยในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งเป็นปีที่เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่เช่นกัน โดยทรงเห็นว่าประเทศไทยในขณะนั้นขาดพื้นที่เฉพาะสำหรับเป็นทางน้ำไหลผ่านและสำหรับการระบายน้ำ ทำให้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในเขตภาคกลางและปริมณฑล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร รวมทั้งระบบระบายน้ำที่มีอยู่แล้ว แต่ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
                แนว Flood Way เพื่อแก้ปัญหาน้ำนั้นมีแนววิธีการดำเนินการ คือการผลัดดันเข้าสู่แนวคลองระบายน้ำและแม่น้ำสายต่างๆตามโครงการ Flood Way จากนั้นจึงระบายออกเป็น ๒ ทางหลัก โดยในส่วนของกรุงเทพฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครนั้นมวลน้ำจะถูกผลัดดันให้เข้าสู่ระบบคลองระบายน้ำในคลองสายต่างๆรวมทั้งแม่น้ำบางปะกงและลงสู่อ่าวไทย ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครนั้น น้ำจะถูกผันเข้าคลองสายต่างๆรวมทั้งแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง จากนั้นผันน้ำลงสู่ทะเลต่อไป
                อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการระบายน้ำของแนว Flood Way นั้น สามารถทำได้เฉพาะบางพื้นที่ และไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมให้กับเมืองที่อยู่บนพื้นที่ลุ่มตอนบนได้ เพราะมีปัจจัยต่างๆ เช่น ภูเขาหรือเนินเขา ซึ่งยากต่อการระบายน้ำ สภาพความพร้อมของพื้นที่รองรับน้ำและคลองระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานรัฐ ปริมาณน้ำในแต่ละปี เป็นต้น
                จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนในการช่วยกันเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในแต่ละปี โดยการดูแลรักษาคูคลอง คันกั้นน้ำ หรือแม่น้ำสายต่างๆให้มีความพร้อมต่อการรองรับปริมาณน้ำ พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ มีหน่วยงานรับผิดชอบที่แน่นอน เพื่อลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเป็นการสร้างความมั่นใจและเป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไป
                การศึกษาเรื่อง Flood Wayกับแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนนี้ เป็นความต้องการของผู้จัดทำที่อยากรวบรมข้อมูลนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยว Flood Way และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยวิธีการอื่นๆ โดยการใช้แผ่นพับเป็นเครื่องมือในการนำเสนอความรู้ ให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และผลงานนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านได้ศึกษาอย่างมาก

















เอกสารอ้างอิง
จิราพร คำภาพันธุ์ วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วมเส้นทางสีเขียว  (๒๕๕๕)๓๗-๓๘.
สุพร ตรีนรินทร์.  น้ำพระทัย “สู้ภัย”น้ำท่วมวารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (๒๕๕๓):  ๒๖-๓๑
แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยาเมืองน้ำวิถีแปรเปลี่ยนเส้นทางสีเขียว  (๒๕๕๕)๒๔-๒๖
คมชัดลึกออนไลน์ http://www.komchadluek.net/detail- Seb-10-2555
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.) .http://pr.trf.or.th- Seb-10-2555































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น